วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มหัศจรรย์ผัก

วันนี้ขอมาแนะนำถึงมหัศจรรย์ผักแต่ละชนิด น่ากินทั้งน้าน ไปกันเลย...

แครอ สีส้มสดใสสว่างของแครอทช่วยดับความกลัวโรคมะเร็งได้ ใน แครอทมีเบต้าแคโรทีน ที่กำจัดสารก่อนมะเร็งที่อาจมากับควันบุหรี่ หรือแสงแดดแผดจัดสารนี้ป้องกันมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็ง ในปอด ใครกินผักสด และผลไม้มาก สม่ำเสมอ มีสารนี้ใน เลือดมาก และใครมีมากก็ไม่ต้องเสี่ยงกับ มะเร็งในปอด ลบ ความ
กลัวด้วยการกินแครอท ผักสด และผลไม้อื่น



ถั่วฝักยาว
เป็นผักกินสดแกล้มกับลาบ ส้มตำ น้ำตก น้ำพริกต่างๆ หรืออาจจะเอามาแกงส้ม ผัดกินก็อร่อย ยาวๆ และมีไฟเบอร์ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ยาวๆและมีวิตามินซีช่วยให้ ้ร่างกาย ดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี ช่วยให้
เลือดดี เคี้ยวถั่วฝักยาวมันดี และ มีสารอาหารที่ ร่างกายเราต้องการ ทั้งหุ่นสวย ทั้งเลือดดี ผิว พรรณดูสดชื่นทีนี้ออกไปคว้าถั่วฝักยาวมา กินกันดีกว่า



กะหล่ำปลี มีวิตามินซีสูง และแนวการกินกะหล่ำปลีของเราทำให้ เราได้วิตามินซีมากเต็มที่ เนื่องจากเรามักกินกะหล่ำปลีสด กะหล่ำปลีคั้นเป็นตัวช่วยรักษาโรคกระเพาะ โดยดื่มน้ำ คั้นวันละ 2 แก้ว นอกจากวิตามินซีกะหล่ำปลีมีสารต้านมะเร็ง หลายตัว กะหล่ำปลีเป็นอีก หนึ่งผักที่ช่วยให้เราปลอดภัยจากโรคร้ายมากกว่าคนที่ ไม่กินผัก


ดอกกะหล่ำ
กินดอกกะหล่ำ ผักดี ได้สเปิร์มด ีดอกกะหล่ำเป็นผักที่มีวิตามินซีมากใครกิน ดอกกะหล่ำ
สด หรือทำให้สุกอย่งรวดเร็วยิ่งได้ วิตามินซีสูง ล่าสุดดร. วิลเลียม เอแฮริสแห่งมหาวิทยาลัย เท็กซัส พบว่า วิตามินซีเพิ่มปริมาณ และช่วยให้สุขภาพของ สเปิร์มดีขึ้นดอกกะหล่ำดี ขนาดนี้ กินดีนอกจาก สุขกายแล้ว ยังสุขใจ (กินดอกกะหล่ำ เพราะฉะนั้นเหงือกดี+ไม่เป็นหวัด+ไม่เป็นมะเร็ง+ สเปิร์มแข็งแรง = ดี)




คะน้า
มีวิตามินซีสูงมาก ใครที่เป็นหวัด ผิวไม่สวย วิตามินซีช่วย ได้ช่วยให้เนื้อเยื่อของเรา ทำงานได้เต็มกำลังทีเด็ดพิเศษคือ นอกจากคะน้าไม่โกรธที่เรากินคะน้ากันอย่างเป็นล่ำเป็น สันคือ คะน้ามีแคลเซียมสูง แคลเซียมของคะน้าที่พลีให้เรานั้นดูดซึม ได้ดีกว่าผักอื่นๆ ดีที่สุดในการกินคือ กินคะน้าสด แกล้มยำรสจัดๆร่างกายจะได้วิตามินซีเต็มเม็ดเต็มหน่วย กว่า การนำไปผัด





กวางตุ้ง
เข้ามาเมืองยจนเรากินเป็นผักไทยไปแล้ว ผักกวางตุ้ง ต้ม ลวก ผัด ก็อร่อยแต่ดีที่สุดต้องเปิดฝาเวลาตั้งไฟเพื่อความ อร่อย ปลอดภัย กินกวางตุ้งเท่าไรก็ไม่อ้วน หุ่นเพรียวเป็นกวาง เพราะกวางตุ้งไขมันน้อยกากใยมาก กินแล้วไปห้องแห่งความสุข ได้สบาย ไม่ต้องออกแรง กวางตุ้งกินแล้วร่างกายได้ภูมิต้านทาน ดีนักกินให้มากหลาก หลาย ระบบภายในจะได้ตุ้งแช่ ตุ้งแช่ ทำงานครึกครื้นสมบูรณ์

ทานผักกันเยอะๆนะคะ

ผักครึ่งนึง อย่างอื่นครึ่งนึง


อ้างอิงจาก : http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.geocities.com/nunote280/nutrition/picture/kuncay.jpg&imgrefurl=http://www.geocities.com/nunote280/nutrition/vet/vetgetable1.htm&usg=__zveA2KRr6NAqxHtFxfRxV-Ro-yc=&h=102&w=159&sz=9&hl=th&start=7&um=1&tbnid=WzvG3TBZORSVqM:&tbnh=62&tbnw=97&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B6%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%258A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%26um%3D1%26hl%3Dth%26sa%3DN

My favorite food is sausage.

My favorite food is sausage.



ไส้กรอก หรือที่ทุกคนเรียกว่า hot dog เป็นอะไรที่ฉันชอบกินมากๆ โดยเฉพาะไส้กรอกจากร้านสะดวกซื้อ อย่างเช่น เซเว่น อีเลฟเว่น สุดฮิต! หรือ เอเอ็มพีเอ็ม และอีกหลายๆร้าน ซึ่งไส้กรอกจากร้านเหล่านี้ ฉันคิดว่ามันอร่อยกว่าที่อื่นๆมากจริง ๆ อาจเป็นเพราะว่าอุ่นกับไมโครเวฟ สดๆ ร้อน แล้วก็กินได้ทันที แถมยังมีคนเวฟให้เราอีกด้วย และที่สำคัญ คือ เวลาซื้อไส้กรอกจาก เซเว่น อีเลฟเว่น เราจะได้เติมทั้งซอสมะเขือเทศ ซอสพริก มายองเนส มัสตาส ผักกาดหอม หอมใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา โอ้โฮ! มันคุ้มค่ามากจริง มันยิ่งทำให้ไส้กรอกของเรามีความอร่อยมากยิ่งขึ้น การกินครั้งนั้นๆก็มีความสุขมากจริงๆ และฉันจะรู้สึกว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่เบื่อ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ถ้ามีคนซื้อให้ฉันกินฟรีๆ อย่างเยอะๆเนี่ย ฉันจะดีใจมากๆ เพราะมันก็มีราคาอยู่ใช่ย่อย แต่ไส้กรอกที่เซเว่น อีเลฟเว่นก็เหมือนว่าจะถูกกว่าที่อื่นๆด้วยนะ

น้อยครั้งมากที่ฉันเข้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น แล้วจะไม่ซื้อไส้กรอก นอกเสียจากว่า วันนั้นอิ่มมากแล้วจริงๆ หรือเงินไม่พอ หรือต้องรอคิวเวฟนาน ซึ่งก็จะผิดหวังมาก T-T ที่ไม่ได้กินไส้กรอกในการเข้าร้านครั้งนั้น เวลาที่ฉันต้องการกินไส้กรอกมากที่สุดก็คือเวลาใกล้สอบ ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน แต่น้ำย่อยมันเรียกร้องหาไส้กรอกเซเว่นมากๆ ซึ่งก็ต้องลงไปซื้อใต้หอทุกครั้งไป ยิ่งเป็นการสอบที่ผ่านมา เกือบจะทุกวันเลยที่ฉันกินมัน

เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับไส้กรอกตอนเด็กๆ ประมาณประถมต้น คือ ฉันต้องหนีแม่ออกไปซื้อไส้กรอก บ่อยมากๆ ร้านที่ใกล้ที่สุด คือ เอเอ็ม พีเอ็ม ที่ตั้งอยู่เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งทางที่ฉันไปนั้นเป็นทางลัด หลังโรงพยาบาล ที่ค่อนข้างเปลี่ยว เป็นป่าเล็กๆที่ไม่มีบ้านคนอาศัยอยู่ แต่ด้วยความอยากกินไส้กรอก ทำยังไงได้ในเมื่อทางนี้ใกล้สุดแล้วหนิ แม้ต้องออกเดินทางคนเดียว ยังไงฉันก็ต้องไปซื้อมันมาให้ได้ ซื้อแล้วก็นั่งกินอยู่ที่โรงพยาบาล กินเสร็จแล้วก็กลับ กลับมาก็มักจะโดนแม่ว่ากล่าว อิอิ แต่ไม่เป็นไร อิ่มใจแล้วที่ได้กิน 555555++++ มีสถานที่นึงที่ฉันจะได้กินไส้กรอกอย่างอิ่มหนำสำราญ นั่นก็คือ บุฟเฟ่ต์อาหารเช้าที่โรงแรมเวลาไปพักที่ต่างๆ ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ไส้กรอกทั้งหมดต้องเป็นของฉ้านนนนนน !!!

เหตุที่ชอบกินไส้กรอกมากๆ นั่นคงเป็นความอร่อยของมันนั่นแหละ ที่ทั้งหอม น่ากิน ได้รสชาติ แถมยังมีชีสทะลักออกมาด้วยเวลากิน และคงเป็นเพราะราคาแพง เราไม่สามารถกินได้บ่อยๆ ก็เลยไม่เบื่อง่ายๆ

นิดของไส้กรอกที่ฉันชอบกินมากที่สุด นั่นก็คือ ชีส ไบท์ ไจแอนท์ แต่จริงๆแล้วก็ชอบเกือบทั้งหมดนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นสโกกี้ไบท์ ชีสไบท์ บิ๊กไบท์ ไส้กรอกวุ้นเส้น ฟุตลอง คอดเทล และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งฉันก็หวังว่า คงมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่คงชอบกินไส้กรอกเหมือนฉัน ใครชอบกินอะไรก็มาบอก หรือไม่ก็เอามาฝากกานบ้างนะ



ไหนๆก็พูดถึงเรื่องไส้ก
รอกแล้ว ก็ขอให้ความรู้เกี่ยวกับไส้กรอกเล็กๆน้อยๆ จ้า...............

ไส้กรอก(sausage) หมายถึงเนื้อที่บดให้ละเอียดผสมกับเกลือ ในอดีตนั้นส่วนผสมของไส้กรอก ถูกบรรจุในลำไส้ หรือกระเพาะอาหารของสัตว์เพื่อทำให้มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก แต่เมื่อมีการผลิตไส้สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้แทนไส้จาก สัตว์ก็มักจะทำให้ไส้กรอกมีลักษณะทรงกระบอกคล้ายไส้กรอกจากธรรมชาติ

1. ชนิดของไส้กรอก
ไส้กรอกมีหลากหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามแหล่งผลิตและความต้องการของผู้บริโภคในส่วนต่างๆ ทั่วโลก ไส้กรอกแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้เป็นไส้กรอกสดไส้กรอกรมควัน ไส้กรอกสุก ไส้กรอกแห้งและไส้กรอกกึ่งแห้ง ดังนี้

1.1
ไส้กรอกสด

ไส้กรอกสด (fresh sausage) ทำจากเนื้อสดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมูบดและผสมเครื่องปรุงแล้วบรรจุ ในไส้เก็บไว้ในตู้เย็น ก่อนรับประทานก็นำมาทำให้สุกก่อน รสชาติ เนื้อสัมผัสความนุ่มและสีของไส้กรอกชนิดนี้เกี่ยวข้อง โดยตรงกับอัตราส่วนของไขมันและเนื้อแดง ตัวอย่างไส้กรอกสดมีดังนี้
1.1.1
ไส้กรอกหมูสด (
fresh pork sausage)
ไส้กรอกหมูสดผลิตจากเนื้อหมูสดหรือเนื้อหมูแช่แข็งหรือได้จากทั้งสองอย่างมารวมกัน รวมทั้ง เนื้อหมูที่ผ่านการเอากระดูกออก (deboned pork) แต่ไม่รวมผลพลอยได้จากเนื้อหมู ผลิตภัณฑ์จะต้องมีไขมันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเติมน้ำหรือน้ำแข็งได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์

1.1.2
ไส้กรอกอาหารเช้า
(breakfast sausage)
ไส้กรอกอาหารเช้าอาจทำจากเนื้อหมูหรือเนื้อโคสดหรือจาก ผลพลอยได้จากเนื้อสัตว์ก็ได้และ อาจเติมสารที่ช่วยการรวมตัวได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ได้ ไขมันไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์และเติมน้ำเกลือหรือน้ำแข็ง ได้ถึง 3 เปอร์เซ็นต์

1.1.3
บราตเวอร์สต์ (
bratwurst)
บราตเวอร์สต์ทำจากเนื้อลูกโคหรือเนื้อหมู มีการใช้ผิวหรือน้ำมะนาวในการปรุงรส นิยมลวก ก่อนจำหน่าย

1.2 ไส้กรอกรมควันแต่ไม่สุก
ไส้กรอกชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับไส้กรอกสด แต่ผ่านการรมควันจึง ทำให้สีและรสชาติแตกต่างไปจาก ไส้กรอกสด เช่น ไส้กรอกหมูสดรมควัน (fresh smoked pork sausage) เป็นต้น เมื่อรับประทานต้องทำให้สุกก่อน ไส้กรอกชนิดนี้สามารถเก็บรักษาได้นานกว่าไส้กรอกสดธรรมดาได้ 1-2 วัน แต่อย่างไรก็ตาม ควรเก็บไว้ในที่เย็น

1.3. ไส้กรอกสุก
ไส้กรอกสุกทำจากเนื้อชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันไม่ว่าเนื้อโคเนื้อหมู หรือเนื้อสัตว์ปีก และอาจรม ควันหรือไม่ก็ได้ ไส้กรอกชนิดนี้ถูกทำให้สุกพร้อมที่จะรับประทานได้ทันที โดยสามารถแบ่งไส้กรอกสุกได้หลายชนิด ในกลุ่มแฟรงเฟอร์เตอร์และไส้กรอกตับและไส้กรอกเลือด
1.3.1
กลุ่มแฟรงเฟอร์เตอร์ ไส้กรอกที่จัดอยู่ในกลุ่มแฟรงเฟอร์เตอร์ ได้แก่ แฟรงเฟอร์เตอร์ (frankfurter) แนกเวอร์สต์ (knackwurst) โบโลญา และอื่นๆ ที่คล้ายแฟรงเฟอร์เตอร์ ทำจากเนื้อหมูและเนื้อโคผสมกัน และหมักด้วยส่วนผสมและ เครื่องเทศแล้วบรรจุในไส้แกะหากบรรจุในไส้พลาสติกเรียกว่าเวียนนา (vienna) แต่บรรจุใน ไส้หมูเรียกว่า แนกเวอร์สต์ไส้กรอกในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมบริโภคมากและเป็นที่รู้จักกันดี

1.3.2
กลุ่มไส้กรอกตับและไส้กรอกเลือดไส้กรอกตับ (liver sausage) ทำจากการบดมันหมูแข็ง ตับ

หมู มีการเติมเจลาติน ปรุงรสด้วยหัวหอมและเครื่องเทศแล้วจึงบรรจุในไส้และทำให้สุก ไส้กรอกตับมีรสชาติดีและมีคุณค่า ทางโภชนาการสูง ส่วนไส้กรอกเลือด (blood Sausage) ทำจากมันหมูแข็งต้มสุกหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมและเนื้อบดละเอียด ผสมกับเจลาติน เลือดโคและเครื่องเทศแล้วจึงบรรจุในไส้และทำให้สุก

1.4. ไส้กรอกแห้งและไส้กรอกกึ่งแห้ง
ไส้กรอกแห้งและไส้กรอกกึ่งแห้ง (dry and semi-dry sausage) ผลิตจากการหมักเนื้อด้วยเชื้อตาม ธรรมชาติหรือเชื้อบริสุทธิ์ที่เติมลงไป หลังจากการผสมเนื้อที่ผ่านการบดกับส่วนผสม เช่น เกลือ เครื่องเทศ และเชื้อ บริสุทธิ์แล้วจะเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำจนกระทั่งมีปริมาณกรดตามที่ต้องการ จึงบรรจุในไส้และทำให้แห้งในอากาศ ผลิตภัณฑ์ บางชนิดจะผ่านการรมควันเพียงเล็กน้อยมาก่อน
1.4.1
ไส้กรอกแห้ง

ไส้กรอกแห้งเป็นไส้กรอกที่ผ่านการรมควันเล็กน้อยหรืออาจไม่ผ่านเลยแต่จะทำให้แห้ง ในอากาศ มีผลผลิตประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิม ไส้กรอกแห้งมีลักษณะแห้ง แน่นและราคาแพงกว่า ไส้กรอกกึ่งแห้ง เช่น ซาลามิ
(salami)
1.4.2
ไส้กรอกกึ่งแห้ง

ไส้กรอกกึ่งแห้งเป็นไส้กรอกที่ถูกทำให้สุกด้วยความร้อนจากการรมควันเพื่อให้เกิดกลิ่นรส ไปด้วย จะได้ผลผลิตที่มีน้ำหนักประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเดิม เนื่องจากมีการหมักโดยแบคทีเรียและมีความ ชื้นมากกว่าไส้กรอกแห้งจึงทำให้ไส้กรอกมีลักษณะที่ค่อนข้างนุ่ม ได้แก่ ทูริงเจอร์ (thuringer) และซัมเมอร์ (
summer
sausage)

ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายไส้กรอก
ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายไส้กรอกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักเนื้อที่ได้ จากการบดแต่มีบางขั้นตอน ที่ไม่เหมือนการทำไส้กรอกคือไม่บรรจุในไส้ เช่น ลันเชียนมีท มีทโลพ และเบอร์เกอร์ เป็นต้น ลันเชียนมีท (luncheon meat) เป็นผลิตภัณฑ์เนื้อบดละเอียดหรือสับให้เข้ากันแล้วบรรจุกระป๋องจากนั้นจึงนำไปผ่านกระบวนการให้ความร้อน จะรับประทานก็สามารถเปิดกระป๋องรับประทานได้ทันที มีทโลพ (meat Laoves) ทำจากเนื้อบดที่ผสมเครื่องปรุงต่างๆ เช่น
หอมหัวใหญ่ ไข่ เครื่องเทศ แป้งและนมผง บรรจุในแบบหรือพิมพ์หรือกระป๋อง และผ่านการอบให้สุกวิธีการทำไส้กรอก ชนิดบดละเอียดเริ่มจากการหมักเนื้อ เกลือ และโซเดียม หรือโปแตสเซียมไนไตรต์หรือไนเตรต และทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง จากนั้นนำเนื้อและมันหมูมาบดและสับละเอียด เติมน้ำแข็ง เครื่องเทศ เครื่องปรุง รส ไขมันและอื่นๆ สับจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน อุณหภูมิในระหว่างนี้ต้องไม่เกิน 15 องศาเซลเซียสส่วนผสมที่ได้จากการ สับละเอียดนั้นจะมีลักษณะเป็นมวลเหนียวหรือเป็นอิมัลชัน แล้วจึงบรรจุไส้โดยนำส่วนผสมใส่ในเครื่องบรรจุตามขนาดที่ ต้องการ และผูกเป็นท่อน นำไปแขวนในตู้หรือเตาอบโดยให้ความร้อนที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง และรมควันที่ อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เวลานาน 45 นาที แล้วจึงนำไปต้มที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นานเท่าใดขึ้นอยู่กับขนาด ของไส้กรอก โดยทั่วไป เส้นผ่าศูนย์กลาง ของไส้ 1 มิลลิเมตรจะต้มนาน 1 นาทีและควรควบคุมอุณหภูมิของน้ำต้มให้คง
ที่อยู่เสมอ

อ้างอิงจาก
: http://www.nsru.ac.th/e-learning/meattech/lesson/less11_4.html